วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

การใช้เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต

การใช้เครื่องมือสืบค้น สารสนเทศในอินเตอร์เน็ต ( Search Facilities)
การใช้เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต ( Search Facilities)
ความหมาย
• เครื่องมือสืบค้น คือ บริการ อุปกรณ์ ที่ให้บริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวย ความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลอินเตอร์เน็ต
ความจำเป็น
• World Wide Web มีสารสนเทศอยู่มากมายมหาศาล การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือสืบค้น
ประเภทของเครื่องมือสืบค้น
1. เครื่องมือประเภทจัดหมวดหมู่/กลุ่มเรื่อง หรือสารบบเว็บ (Directories) หรือ ดรรชนีเรื่อง (Subject indexes, Subject catalog) จัดทำโดยรวบรวมเว็บไซต์ต่างๆ มาวิเคราะห์และจัดแยกอย่างเป็นระบบตามเนื้อหาด้วยแรงงานคน คือ บรรณารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา หรือบรรณาธิการ การสืบค้นทำโดยไล่ตามหัวข้อใหญ่ลงมาถึงหัวข้อย่อยที่ต้องการ
ข้อดี

1. ให้ข้อมูลที่แม่นยำกว่าเครื่องมือประเภทโปรแกรมค้นหา (Searchengines)

2. ช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลา เพราะเครื่องมือบางตัวจะให้ คำปริทัศน์เว็บไซต์ (review)

3. ใช้งานง่าย ถ้าเรื่องที่สนใจเป็นหัวข้อที่คนทั่วไปสนใจจะพบข้อมูลที่ต้องการ อย่างรวดเร็ว


ข้อจำกัด

1. มีขอบเขตครอบคุลมเนื้อหาไม่กว้างขวาง

2 . การปรับปรุงข้อมูลช้ากว่า

Yahoo
ป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูง ซึ่งเป็นเครื่องมือสืบค้นประเภทจัดหมวดหมู่เครื่องมือแรกในระบบ World Wide
การสืบค้นข้อมูล

1. ค้นจาก Directory ใส่คำค้นในช่อง Search Directory แล้วคลิก Yahoo Search ดังภาพประกอบ















ภาพประกอบ แถบ Directory ของ Yahoo

2. Yahoo! Web Directory เข้าใช้โดยเลือกดูหมวดหมู่ไล่ตามหมวดใหญ่ลงมาถึงหัวข้อย่อย ดังภาพประกอบ

















ภาพประกอบ Yahoo! Web Directory

เครื่องมือสืบค้นข้อมูลด้านวิชาการ ( Academic directory or Subject gateway or Virtual library)
เครื่องมือประเภทนี้มีข้อดี คือ 1. มีเกณฑ์ชัดเจนในการคัดเลือกเว็บไซต์ที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ 2. มีการจัดหมวดหมู่ที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาในเรื่องเดียวกันได้ง่าย 3. ให้คำปริทัศน์ ( review ) หรือคำอธิบายเกี่ยวกับเว็บไซต์ด้วยเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลา


ภาพประกอบ การจัดหมวดหมู่และการให้คำปริทัศน์เว็บไซต์ใน BUBL Link

2. เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ค้นคืนสารสนเทศ จัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล (machine indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า spider, robot หรือ crawlers เครื่องมือประเภทนี้จึงมีจำนวนเอกสารมากกว่าเครื่องมือประเภทจัดหมวดหมู่
ข้อดี



1. ครอบคุลมเนื้อหากว้างขวางและละเอียดเนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ


2. ฐานข้อมูลมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา

ข้อจำกัด


1. ค วามเกี่ยวข้องของผลการสืบค้นน้อย


2. อาจปรากฏผลการสืบค้นซ้ำจากเว็บไซต์เดียวกัน เนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ จึงส่งผลให้ได้ผลการสืบค้นมาก ผู้ใช้ต้องไล่ดูผลการสืบค้นจำนวนมาก
ตัวอย่างเครื่องมือชนิดนี้ ได้แก่ Lycos, Asks, Hotbot และ Google ซึ่งปัจจุบัน ได้รับความนิยมสูงสุด Google
การสืบค้นข้อมูลจาก Google
ผู้ใช้สามารถใช้ Google สืบค้นข้อมูล ด้วยการพิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการ ซึ่งผลการค้นคืนแต่ละครั้งจะมีจำนวนมาก ดังนั้นการคิดเตรียมหาคำสืบค้นหรือเตรียมกลยุทธ์การสืบค้น โดยทั่วไปการสืบค้นด้วย Google ทำได้โดยคิดหาคำค้นที่จะทำให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงที่สุด เช่น ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่เปิดสอนด้าน Management Information Systems หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ในประเทศไทยเป็นภาษาไทย ขั้นแรกคือ หากใช้คำว่า “ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ” คำเดียว จะได้ข้อมูลออกมากว้างขวางเกินความต้องการ ต้องจำกัดด้วยการเพิ่มแง่มุมเฉพาะ เช่น หลักสูตร ซึ่งซอฟแวร์จะนำไปบวกกับคำว่า “ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ” ผู้ใช้จะได้ผลการสืบค้นที่เฉพาะตรงต่อความต้องการมากขึ้น ดังภาพประกอบ







ภาพประกอบ ผลการสืบค้นข้อมูลจาก Google


ปัจจุบันเครื่องมือสืบค้นแต่ละตัวจะมีลักษณะเป็นแบบผสม (Hybrid) มากขึ้น คือ มิได้มีวิธีสืบค้นเพียงวิธีเดียว เช่น Google ได้จัดทำบริการจัดหมวดหมู่ด้วยเพื่อขยายขอบเขตของการให้บริการสืบค้นสารนิเทศออกไป นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือสืบค้นอีกประเภทหนึ่งซึ่งอาจถือว่าเป็นประเภทย่อยของเครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines) หรือถือว่าเป็นเครื่องมือสืบค้นอีกประเภทหนึ่งก็ได้ นั่นคือ เครื่องมือค้นคืนจากหลาย เครื่องมือในคราวเดียวกัน (Pararell search engines หรือ Meta search engines) ได้แก่ Metacrawler, Dogpile และ Debriefing เครื่องมือนี้เอื้อให้ผู้ใช้สามารถค้นคืนจากเครื่องมือหลายตัวพร้อมกันด้วยคำสั่งค้นคืนเพียงครั้งเดียว ผู้ใช้ไม่ต้องไปที่เว็บไซต์ของบริการเหล่านั้นทีละ
ลักษณะการสืบค้นของ Google
1. Google จะเพิ่มตัวเชื่อม and ( และ) อยู่ระหว่างคำโดยอัตโนมัติ 2. Google จะหาข้อมูลให้เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ตัวเชื่อม OR ( หรือ ) โดยพิมพ์ OR ด้วย ตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris 3. Google จะละการค้นคำทั่วๆ ไป (เช่น the, to, of, how, where) ถ้าต้องการค้นหาคำเหล่านี้ ต้องเว้นวรรคก่อนแล้วพิมพ์เครื่องหมาย + นำหน้าคำนั้น เช่น computer programming +I ดังภาพประกอบ






ภาพประกอบ การละตัวอักษรเดี่ยวการสืบค้นของ Google

4. การค้นหาแบบทั้งวลี ( กลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " ครอบ เช่น “computer programming I” และ "The King and I" 5. Google ค้นหาคำที่มีรากศัพท์เดียวกันให้โดยอัตโนมัติ เช่น program จะค้นหา ทั้งคำว่า program, programmer, programming และคำอื่นๆ ที่มีรากศัพท์เดียวกับ program 6. Google ตัดคำพ้องรูปโดยใช้เครื่องหมาย – นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ ( เว้นหน้า – หลังไม่เว้น ) เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรี ถ้าจะตัดเว็บเพจที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออก ก็พิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีความหมายว่า music นอกจากนี้ยังสามารถตัดสิ่งที่ไม่ต้องการแสดงในผลลัพธ์ได้ เช่น ขนมไทย - filetype : pdf จะค้นหาเว็บเพจเกี่ยวกับขนมไทยที่ไม่ใช่ไฟล์นามสกุล .pdf 7. Google ค้นหา ที่มีความเหมือนกันโดยใช้เครื่องหมาย “~” เช่น ~food จะค้นหาคำว่า recipe และ cooking ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ food ให้ด้วย ดังภาพประกอบ

ภาพประกอบ การค้นหาที่มีความเหมือนกันของ Google

8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ เช่น .pdf . xls .doc โดยพิมพ์ filetype: นามสกุลของไฟล์ เช่น " LAN" filetype:ppt หมายถึง ค้นหาคำว่า LAN ที่เป็นไฟล์นามสกุล .ppt 9. Google สามารถเก็บหน้าเว็บเพจเก่า (Cached) ได้ โดยคลิกที่ Cached (ถูกเก็บไว้) ประโยชน์คือช่วยให้เข้าถึงบางเว็บที่โดนลบไปแล้ว โดยจะได้ข้อมูลก่อนถูกลบ ดังภาพประกอบ 4.35




ภาพประกอบ การค้นหน้าเว็บเพจเก่า (Cached) ของ Google
10. Google ค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ที่ต้องการได้ หากไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่ส่วนใดของเว็บ โดยพิมพ์ ข้อมูลที่ต้องการค้นหา site:URL เช่น ถ้าต้องการทราบเกี่ยวกับการรับเข้าศึกษา ( admission) ในมหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu



ที่มา:http://elearning.msu.ac.th/ge/ge51/0012003/page08_08.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น