วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553
ตอบคำถามร้านไอศกริมiberryและกรณีศึกษาการบินไทย
ตอบ. 1.การใช้เครื่องตักดิจิตอลก็จะคำนวณว่าต้องตักวัตถุดิบแต่ละอย่างจำนวนเท่าไร และจะคำนวณเวลาและอุณหภูมิการเดินทางโดยไม่ต้องถือบัตรโดยสารเพราะ ... อาจจะประสบปัญหาความแตกต่างทางด้านเทคโนโลยีและกฏหมายในแต่ละประเทศที่ต้องใช้ให้ด้วย ซึ่งระบบจะมีการควบคุมที่แม่นยำ
2.การใช้เซนเซอร์ควบคุมความเย็นของตู้ไอศกรีมให้มีอุณหภูมิคงที่ไม่ให้เกิดปัญหาไฟดับหรือตู้ไม่ทำงานส่งผลให้ไอศกรีม เกิดความเสียหาย คืนรูป หรือเสียรสชาด
3.การใช้ซอฟต์แวร์บริหารร้านเพื่อแผนการตลาดที่ดี ซึ่งระบบจะส่งข้อมูลยอดขายในแต่ละวันของแต่ละสาขาออนไลน์ไปรวมกันที่สำนักงานใหญ่ทุกสิ้นวันและได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขายและข้อมูลต่างๆ รู้ว่าในหนึ่งวันหรือหนึ่งปีมีอะไรถูกขายไปบ้าง แยกเป็นอะไรบ้าง ตัวไหนขายดี ช่วงไหน เสาร์ อาทิตย์ อะไรขายดี หรือหน้าหนาวขายดีหรือไม่ ทำให้รู้ว่าจะวางแผนการตลาดอย่างไร
4.การติดตั้งระบบ CCTV เพื่อดูแลและติดตามพฤติกรรมของพนักงานภายในร้านทุกสาขาได้ตลอดเวลาไม่ว่าเจ้าของร้านจะอยู่ตรงส่วนไหน เพียงมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ก็พอ
2. ผู้บริหารสามารถใช้ ICT ตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้อย่างไร อธิบาย
ตอบ. 1.การใช้เซนเซอร์ควบคุมความเย็นส่วนการควบคุมความเย็นของตู้ไอศกรีมให้มีอุณหภูมิคงที่ ไม่ให้ปัญหาไฟดับหรือตู้ไม่ทำงานส่งผลให้ไอศกรีมเกิดความเสียหาย คืนรูป หรือเสียรสชาดไปนั้น โดยแก้ปัญหาด้วยการติดตั้งตัวเซนเซอร์ที่ตู้ไอศกรีมแต่ละสาขา
2.ซอฟต์แวร์บริหารร้านเพื่อแผนการตลาดที่ดีทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขายและข้อมูลต่างๆ รู้ว่าในหนึ่งวันหรือหนึ่งปีมีอะไรถูกขายไปบ้าง ยกเป็นอะไรบ้าง ตัวไหนขายดี ช่วงไหน เสาร์ อาทิตย์ อะไรขายดี หรือหน้าหนาวขายดีหรือไม่+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
1. บริษัทการบินไทยนำ ICT มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจการบินอย่างไรบ้าง?
ตอบ. 1.การใช้ศูนย์คอมพิวเตอร์ 2 ศูนย์กับอุปกรณ์ 2 ชุด โดยอุปกรณ์ที่ศูนย์ทั้งสองจะมีความสามารถที่ใกล้เคียงกัน ความจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์คอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งแห่งมาจาก การที่การบินไทยนั้นให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วันต่อสัปดาห์ หากศูนย์หนึ่งเกิดปัญหาขึ้นอีกศูนย์หนึ่งก็สามารถทำหน้าที่แทนได้ทันที แต่อาจจะทำงานได้ในระดับที่ไม่เต็มร้อย แต่ยังสามารถที่จะให้บริการต่อไปได้ และในช่วงนี้ก็จะมีการแก้ไขในจุดที่มีปัญหาในศูนย์ที่ล่มเมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะกลับไปใช้งานที่ศูนย์เก่าดังเดิม2.การใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้ง 4 เครื่อง จะเปิดไว้ตลอดเวลาคือลักษณะเป็น Warm Site ถ้าศูนย์ใดศูนย์หนึ่งมีปัญหาเราจะย้ายระบบมาอีกศูนย์หนึ่งทันที โดยจะต้องมีการกู้ข้อมูลให้ระบบถอยกลับไปก่อนที่จะถึงจุดที่มีปัญหา ข้อมูลจะมีการบันทึกเหมือนกันทั้งสองศูนย์ ระบบ TPF จะเขียนข้อมูลทั้งสองข้างเหมือนกัน แต่ OS/390 จะเขียนฝั่งหนึ่งให้เสร็จก่อน แล้วจึงเขียนอีกฝั่งหนึ่ง และยังมีการใช้ระบบ Virtual Tape Server (VTS) ให้เกิดประโยชน์ในการลงทุนอย่างคุ้มค่า การสตาร์ตระบบคอมเมอร์เชียลอย่าง TPF ถ้าทุกอย่างพร้อมสามารถเปิดระบบภายในเวลา 5 นาที ผู้ใช้งานจึงเริ่มใช้งานได้ส่วนระบบ OS/390 จะพร้อมใช้งานภายในเวลา 30 นาที หากเลยเวลาที่กำหนดไปแล้วนั้น จะต้องนำเอาแผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) หรือ Business Continuity Plan มาใช้เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
2. จงอธิบายคำต่อไปนี้ Diaster Recovery, Transaction Processing, Virtual Tape Server,Data Recovery, Royal e-Ticketing
ตอบ. Diaster Recovery เป็นการวางแผนเพื่อรองรับการเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหวTransaction Processing คือ การประมวลผลข้อมูลด้วยการนำแฟ้มข้อมูลที่บรรจุรายการเปลี่ยนแปลง หรือรายการแก้ไข อ่านเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อปรับปรุงรายการในแฟ้มข้อมูลหลัก (master file)Virtual Tape Server คือ ระบบเทปเสมือนใช้การรวมกันของ RAID ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีเทปสูงเพื่อเก็บข้อมูลในเทปมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมวิธี By first staging data in RAID (the "virtual tape"), the virtual tape … โดยข้อมูลการแสดงละครครั้งแรกใน RAID ("เทปเสมือน"), เทปเสมือน ... Data Recovery คือ การกู้ข้อมูลรูปภาพสำคัญ ๆ ที่โดนลบโดยบังเอิญRoyal e-Ticketing คือ การเดินทางโดยไม่ต้องถือบัตรโดยสารเพราะอาจจะประสบปัญหาความแตกต่างทางด้านเทคโนโลยีและกฏหมายในแต่ละประเทศ
************************************************************************************
ให้อธิบาย blog,twitter,facebook เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อเหมือนกัน คือ เป็นการสร้างชุมชนออนไลน์
ข้อแตกต่าง คือ
(Blog) บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถสร้างและจัดหน้าตาที่แสดงของเรื่องที่เขียนได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก
( Twitter) ทวิตเตอร์ ก็คล้ายๆ กับบล็อก เพียงแต่ใส่ ข้อมูล ได้สั้นกว่า ไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ twit-ter.com ก็ใช้งานได้ติดตาม ข้อความในทวิตเตอร์ได้ จากโทรศัพท์มือถือ ผู้ส่งข้อความ อาจส่งข้อความได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร แต่ข้อดีคือติดตามอ่านได้ทุกเวลา สั้น ง่าย และรวดเร็ว ทวิตเตอร์ ถูกใช้ในการนัดชุมนุม เผยแพร่ข้อมูล ส่งที่อยู่เว็บฯที่มีการโพสต์ภาพ หรือวีดิโอคลิป เป็นหลักฐานแสดงถึงการใช้ความรุนแรงในการเข้าปราบปรามจากเจ้าหน้าที่รัฐ
(Facebook) เป็นเว็บไซท์ข้อมูลของคุณเอง และนำไปเชื่อมโยงกับ หน้าโปรไฟล์ face book ของคนอื่นๆ เพื่อให้คุณสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ สามารถส่งข้อความพูดคุยกับเพื่อนตัวต่อตัว หรือจะส่งข้อความหาเพื่อนกลุ่มใหญ่ในครั้งเดียวก็ทำได้ Face book จะเน้นในเรื่องของแอพพลิเคชั่น และการใช้งานที่ดูเป็นทางการ Face book คือ ผู้ใช้งานต้องใช้ชื่อจริง และ E-mail เดียวกันในการลงทะเบียน Skin ของ Face book นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่มีข้อดีคือ มีโทนสีที่สว่าง ทำให้ผู้ใช้ทุกช่วงอายุ สามารถอ่านได้อย่างสบายตา จะเป็นสื่อในการส่งข้อความแล้ว เรายังสามารถใช้เว็บสังคมออนไลน์เป็นที่ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับองค์กรที่เราทำงาน เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เราใช้ หรือเกี่ยวกับการเมือง เป็นเว็บที่นิยมกันทั่วโลกทำให้เราสามารถมีการแลกเปลี่ยนสื่อสารภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นเว็บที่เป็นกลไกในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารดีๆ เกี่ยวกับองค์กรของตนเองไปยังบุคคลต่างๆ รอบๆ ตัวเรา
วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553
การใช้เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต
การใช้เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต ( Search Facilities)
ความหมาย
• เครื่องมือสืบค้น คือ บริการ อุปกรณ์ ที่ให้บริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวย ความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลอินเตอร์เน็ต
ความจำเป็น
• World Wide Web มีสารสนเทศอยู่มากมายมหาศาล การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือสืบค้น
ประเภทของเครื่องมือสืบค้น
1. เครื่องมือประเภทจัดหมวดหมู่/กลุ่มเรื่อง หรือสารบบเว็บ (Directories) หรือ ดรรชนีเรื่อง (Subject indexes, Subject catalog) จัดทำโดยรวบรวมเว็บไซต์ต่างๆ มาวิเคราะห์และจัดแยกอย่างเป็นระบบตามเนื้อหาด้วยแรงงานคน คือ บรรณารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา หรือบรรณาธิการ การสืบค้นทำโดยไล่ตามหัวข้อใหญ่ลงมาถึงหัวข้อย่อยที่ต้องการ
ข้อดี
1. ให้ข้อมูลที่แม่นยำกว่าเครื่องมือประเภทโปรแกรมค้นหา (Searchengines)
3. ใช้งานง่าย ถ้าเรื่องที่สนใจเป็นหัวข้อที่คนทั่วไปสนใจจะพบข้อมูลที่ต้องการ อย่างรวดเร็ว
Yahoo
ป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูง ซึ่งเป็นเครื่องมือสืบค้นประเภทจัดหมวดหมู่เครื่องมือแรกในระบบ World Wide
การสืบค้นข้อมูล

2. Yahoo! Web Directory เข้าใช้โดยเลือกดูหมวดหมู่ไล่ตามหมวดใหญ่ลงมาถึงหัวข้อย่อย ดังภาพประกอบ

เครื่องมือสืบค้นข้อมูลด้านวิชาการ ( Academic directory or Subject gateway or Virtual library)
เครื่องมือประเภทนี้มีข้อดี คือ 1. มีเกณฑ์ชัดเจนในการคัดเลือกเว็บไซต์ที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ 2. มีการจัดหมวดหมู่ที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาในเรื่องเดียวกันได้ง่าย 3. ให้คำปริทัศน์ ( review ) หรือคำอธิบายเกี่ยวกับเว็บไซต์ด้วยเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลา

2. เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ค้นคืนสารสนเทศ จัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล (machine indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า spider, robot หรือ crawlers เครื่องมือประเภทนี้จึงมีจำนวนเอกสารมากกว่าเครื่องมือประเภทจัดหมวดหมู่
ข้อดี
1. ครอบคุลมเนื้อหากว้างขวางและละเอียดเนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ
2. ฐานข้อมูลมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา
ข้อจำกัด
1. ค วามเกี่ยวข้องของผลการสืบค้นน้อย
2. อาจปรากฏผลการสืบค้นซ้ำจากเว็บไซต์เดียวกัน เนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ จึงส่งผลให้ได้ผลการสืบค้นมาก ผู้ใช้ต้องไล่ดูผลการสืบค้นจำนวนมาก
ตัวอย่างเครื่องมือชนิดนี้ ได้แก่ Lycos, Asks, Hotbot และ Google ซึ่งปัจจุบัน ได้รับความนิยมสูงสุด Google
การสืบค้นข้อมูลจาก Google
ผู้ใช้สามารถใช้ Google สืบค้นข้อมูล ด้วยการพิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการ ซึ่งผลการค้นคืนแต่ละครั้งจะมีจำนวนมาก ดังนั้นการคิดเตรียมหาคำสืบค้นหรือเตรียมกลยุทธ์การสืบค้น โดยทั่วไปการสืบค้นด้วย Google ทำได้โดยคิดหาคำค้นที่จะทำให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงที่สุด เช่น ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่เปิดสอนด้าน Management Information Systems หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ในประเทศไทยเป็นภาษาไทย ขั้นแรกคือ หากใช้คำว่า “ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ” คำเดียว จะได้ข้อมูลออกมากว้างขวางเกินความต้องการ ต้องจำกัดด้วยการเพิ่มแง่มุมเฉพาะ เช่น หลักสูตร ซึ่งซอฟแวร์จะนำไปบวกกับคำว่า “ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ” ผู้ใช้จะได้ผลการสืบค้นที่เฉพาะตรงต่อความต้องการมากขึ้น ดังภาพประกอบ
ภาพประกอบ ผลการสืบค้นข้อมูลจาก Google
ปัจจุบันเครื่องมือสืบค้นแต่ละตัวจะมีลักษณะเป็นแบบผสม (Hybrid) มากขึ้น คือ มิได้มีวิธีสืบค้นเพียงวิธีเดียว เช่น Google ได้จัดทำบริการจัดหมวดหมู่ด้วยเพื่อขยายขอบเขตของการให้บริการสืบค้นสารนิเทศออกไป นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือสืบค้นอีกประเภทหนึ่งซึ่งอาจถือว่าเป็นประเภทย่อยของเครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines) หรือถือว่าเป็นเครื่องมือสืบค้นอีกประเภทหนึ่งก็ได้ นั่นคือ เครื่องมือค้นคืนจากหลาย เครื่องมือในคราวเดียวกัน (Pararell search engines หรือ Meta search engines) ได้แก่ Metacrawler, Dogpile และ Debriefing เครื่องมือนี้เอื้อให้ผู้ใช้สามารถค้นคืนจากเครื่องมือหลายตัวพร้อมกันด้วยคำสั่งค้นคืนเพียงครั้งเดียว ผู้ใช้ไม่ต้องไปที่เว็บไซต์ของบริการเหล่านั้นทีละ
ลักษณะการสืบค้นของ Google
1. Google จะเพิ่มตัวเชื่อม and ( และ) อยู่ระหว่างคำโดยอัตโนมัติ 2. Google จะหาข้อมูลให้เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ตัวเชื่อม OR ( หรือ ) โดยพิมพ์ OR ด้วย ตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris 3. Google จะละการค้นคำทั่วๆ ไป (เช่น the, to, of, how, where) ถ้าต้องการค้นหาคำเหล่านี้ ต้องเว้นวรรคก่อนแล้วพิมพ์เครื่องหมาย + นำหน้าคำนั้น เช่น computer programming +I ดังภาพประกอบ

ภาพประกอบ การละตัวอักษรเดี่ยวการสืบค้นของ Google
4. การค้นหาแบบทั้งวลี ( กลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " ครอบ เช่น “computer programming I” และ "The King and I" 5. Google ค้นหาคำที่มีรากศัพท์เดียวกันให้โดยอัตโนมัติ เช่น program จะค้นหา ทั้งคำว่า program, programmer, programming และคำอื่นๆ ที่มีรากศัพท์เดียวกับ program 6. Google ตัดคำพ้องรูปโดยใช้เครื่องหมาย – นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ ( เว้นหน้า – หลังไม่เว้น ) เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรี ถ้าจะตัดเว็บเพจที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออก ก็พิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีความหมายว่า music นอกจากนี้ยังสามารถตัดสิ่งที่ไม่ต้องการแสดงในผลลัพธ์ได้ เช่น ขนมไทย - filetype : pdf จะค้นหาเว็บเพจเกี่ยวกับขนมไทยที่ไม่ใช่ไฟล์นามสกุล .pdf 7. Google ค้นหา ที่มีความเหมือนกันโดยใช้เครื่องหมาย “~” เช่น ~food จะค้นหาคำว่า recipe และ cooking ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ food ให้ด้วย ดังภาพประกอบ

ภาพประกอบ การค้นหาที่มีความเหมือนกันของ Google
8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ เช่น .pdf . xls .doc โดยพิมพ์ filetype: นามสกุลของไฟล์ เช่น " LAN" filetype:ppt หมายถึง ค้นหาคำว่า LAN ที่เป็นไฟล์นามสกุล .ppt 9. Google สามารถเก็บหน้าเว็บเพจเก่า (Cached) ได้ โดยคลิกที่ Cached (ถูกเก็บไว้) ประโยชน์คือช่วยให้เข้าถึงบางเว็บที่โดนลบไปแล้ว โดยจะได้ข้อมูลก่อนถูกลบ ดังภาพประกอบ 4.35

ภาพประกอบ การค้นหน้าเว็บเพจเก่า (Cached) ของ Google
10. Google ค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ที่ต้องการได้ หากไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่ส่วนใดของเว็บ โดยพิมพ์ ข้อมูลที่ต้องการค้นหา site:URL เช่น ถ้าต้องการทราบเกี่ยวกับการรับเข้าศึกษา ( admission) ในมหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
ที่มา:http://elearning.msu.ac.th/ge/ge51/0012003/page08_08.html